สงครามระหว่างอารยันกับดราวิเดียน (จุดกำเนิดรามายณะและรามเกียรติ์)

นนทุกคงเป็นหัวหน้าคนพื้นเมือง(ดราวิเดียน) รุ่นแรกๆที่ถูกจับมาเป็นทาสรับใช้อารยัน แล้วโดนกดขี่ข่มเหง จนต้องลุกฮือขึ้นมาแข็งข้ออารยัน แต่สุดท้ายก็ถูกปราบ
ส่วนทศกัณฐ์นั้นคงเป็นหัวหน้าขนพื้นเมืองรุ่นหลังๆ

เทคโนโลยีทางการทหารของดราวิเดียนสู้อารยันไม่ได้ โดยเฉพาะในสาขาโลหะวิทยา รบกันแบบสงครามประจันหน้าคงแพ้ยับเยิน ฉะนั้นคงไม่มีฉากสงครามอลังการแบบแต่งทัพกษัตริย์ออกมาเผชิญกันซึ่งหน้า

ฝ่ายดราวิเดียนน่าจะใช้กลยุทธสารพัดที่ช่วยให้ไม่ต้องรบกันซึ่งหน้าอย่างที่บรรยายไว้ในช่วงต้นของรามเกียรติ์

ส่วนที่สงครามยืดเยื้อตั้งสิบกว่าปีซึ่งขัดกับหลักทางเศรษฐศาสตร์โดยสิ้นเชิงนั้น เป็นเพราะอาระยันอพยพเข้ามาหลายระลอก ไม่ได้รุกเข้ามาเป็นกลุ่มก้อนใหญ่ในครั้งเดียว และคงสนธิกำลังกันรุกคืบช่วงชิงดินแดนเข้ามาเรื่อย

เพราะว่าในสมัยพุทธกาลอินเดียที่เรารู้ๆกันยังมีเพียงแค่อินเดียตอนเหนือเท่านั้น ในสมัยพระเจ้าอโศก อินเดียตอนใต้ก็ยังอยู่ในการปกครองของเผ่ามิลักขะอยู่ เพราะพระเจ้าอโศกยังส่งสมณทูตไปเผยแผ่ศานาอยู่

ผมว่ามันค่อนข้างขัดกันอยู่อย่างคือ พระพรหมเป็นเทพมาตั้งแต่ก่อนพุทธการ พอถึงยุคฮฺนดูถึงมีเทพเพิ่มขึ้นคือ พระศิวะและพระนารายณ์ พระศิวะเป็นตัวแทนของอารยัน ผิวขาวและทรงโค ประทับอยู่เขาไกรลาศซึ่งเป็นเหมือนเทพสายกรีกอารยันเช่นกันและยังมีกายเหมือนมนุษย์เท่าไปย่อมแสดงถึงแนวคิดมนุษยนิยมเช่นเดียวกับกรีก แต่พระนารายณ์จะผิวคล้ำมี4กรพระทับบนนาคซึ่งสิ่งเหล่านี้แสดงถึงสัญลักษณ์ของมิลักขะ

ซึ่งหากจะบอกว่าพระรามเป็นผู้นำชาวอารยัน สู้รบกับมิลักขะว่าเป็นอวตารของพระนารายณ์ที่เป็นเทพตัวแทนของมิลักขะ ดูจะประหลาดไปหน่อย

เรื่องนี้เป็นนิยายปรำปรา สืบค้นแบบประวัติศาสตร์ไม่เจอจารึกที่สอดคล้องกัน
ท้องเรื่องเก่าเกินพุทธกาลอาจเป็นไปได้ แต่มีบางเหตุการณ์ เหมือนกัน เช่น

ยิงธนูเลือกคู่ ยกคันธนู หนักเท่าแรงพันคนยก

เรื่องราวน่าจะมีส่วนจริง แต่นิยายเรื่องนี้แต่งแก้เกี้ยวให้พวกอารยันเป็นพระเอก ฑราวิทเป็นผู้ร้าย

ถนนที่ชาวลิง(ชาวต่างเผ่า)จองไว้ ก็มีอยู่จริง เป็นแนวหินเชื่อม เรียกว่า สะพานพระราม

เรื่องนี้มี”ปม”ที่ผู้ประพันธ์ทิ้งไว้ให้ตีความ เช่น

สีดาเป็นลูก รวณะ(ทศกัณฐ์) ประมาณลูกครึ่งฑราวิทไปเป็นเมียอารยัน หรือสาวฑราวิท ต้องไปเป็นเมียอารยัน
ส่วนที่พ่อไม่รู้ว่าเป็นลูกตนเอง หรือลูกสาวด่าพ่อแท้ๆ ไม่พูดถึงเลยแปลกไหม
แม่แท้ๆยังไม่รู้สึกถึงลูกสาวตนเอง ทั้งๆที่มีฤทธิ์เดช ขนาดนั้น สมัยนี้เลยต้องตรวจดีเอ็นเอ เพราะไม่ได้อยู่ที่หน้า

สีดา อยากได้กวาง ขนาดต้องจับให้ได้ ไม่งั้นชักดิ้นชักงอ แสดงว่าเอาแต่ใจ ประสาสวยเลือกได้ ภาคหลังเป็นเมียพี่ ต้องอดทน

สีดาไม่ไปกับ หนุมาน(ศิวาตาล) แต่ให้พาพวกมารับ อ้างว่าไม่สมเกียรติ เรื่องจริงที่เดาๆกัน คือ
เมียสำคัญของอารยันโดนจับมา เป็นเมียชาวฑราวิท ต้องมาเอาคืนเพื่อล้างอาย
แถมต้อง”ลุย”ไฟ เพื่อพิสูจน์ รามรักสีดาจริงหรือ ยังกลัวจะมีลูกหลงอีก

ตอนท้ายที่สีดาต้องหนีไปคลอดลูก เพราะรามคิดว่าสีดาไม่ลืมรวณะ เพราะเห็นรูปวาด มหาบุรุษเจ้าคิดเจ้าแค้นจัง แถมจะง้อก็สีดาหนีแบบวาร์ปข้ามภพ สีดาคงเข็ดอะไรบางอย่าง เรื่องเมียเยอะคงมีส่วน

แต่น่าแปลกที่ราม ไม่ค่อยถูกกล่าวถึงเรื่องมีเมียเยอะ
ไม่เหมือนกฤษณะ มีเมียเยอะขนาด พระอภัยชิดซ้าย

พิเภก เป็นไส้ศึกขายชาติ แต่เป็นกู้ดบอย ได้กินเมือง ทรยศพี่น้อง เอาเมียพี่ใหญ่ไปครอง ผิดธรรมเนียม แสดงว่าไม่เคารพพี่สะใภ้ หวังตีท้ายครัวมาก่อนแน่ แบบงักปุ๊กคุ้ง

รวณะและลูกชาย นางมณโฑ ร่วมหัวจมท้าย มีสุขร่วมเสพมีสุขร่วมท้าย แต่เป็นผู้ร้าย
ขนาดนางมณโฑโดยพาลีแย่งไประหว่างทาง ได้ไปก่อน ยังไปตามรับกลับมาแต่งเป็นมเหสี
ตอนขอพระอุมาก็มาส่งคืนมาคำแนะนำของลุงแก่ ไม่ฝืนทำทั้งๆที่ทำได้ถูกต้อง
แสดงว่ารวณะ รู้กาลเทศะ ไหงมาต๊องตอนหลังได้ อย่างว่านิยายๆ

พาลี ผู้ร้ายจำเป็น พอม้องไปสุครีเป็นผู้นำทันที หนุมานพร้อมเข้าข้างคนที่ได้เปรียบ พลลิงมีแต่เยส ไม่มีโน เผด็จการเบ็ดเสร็จ เพราะมีเทพหนุนหลัง ไม่กล้าหือว่างั้น
สงสัยลิงที่ไม่เห็นด้วยต้องไปยังฮัวกั่วซาน ฝากตัวกับฉีเทียนต้าเสิน แต่ไม่มีเรือไปถึง อนิจจา

ราม ถล่มเมืองลงกา ราบเป็นหน้ากลอง แต่บอกว่าหนุมานทำ เพราะส่งไปเป็นไส้ศึก
แสดงว่ารบตัวต่อตัว ไม่มั่นใจว่าชนะ แต่ลอบกัด ใช้วิธีต่ำทรามที่ชาวยุทธไม่ใช้กัน คุณธรรมจริงๆ

แถมจัดสรร ปันส่วนให้ด้วย มาแค่รับเมีย ยังไปยุ่งเรื่องชาวบ้านอีก ไม่มีใครเชิญด้วย

งานนี้ลูกเขย ฆ่าพ่อตา แถมโคตรวงศ์พ่อตา แต่ลูกสาวไม่รู้เรื่อง นิยายทำนองนี้จบแบบพระเอกไม่ลงเอยกับนางเอก เพราะรับไม่ได้ฆ่าพ่อ ก็ต้องตายทั้งคู่
คนอ่านรับไม่ได้ มีบางคนแต่งแนวนี้ แต่เมียๆมาฆ่ากัน แย่งตำแหน่งเมียเอกอีกที

ในมังกรหยกภาค1 อึ้งเอียะซือ คิดฆ่าก๋วยเจ๋งเหมือนกัน เพราะไม่ค่อยพอใจลูกเขย แต่กลัวลูกสาว ลูกเขยเลยรอดตาย

งานนี้ถ้าไม่ได้ลิงเผือก ทำภารกิจรบไม่ชนะแน่ คนพื้นที่ ย่อมเข้าใจคนพื้นที่ด้วยกัน

นิยายเรื่องนี้มีเรื่องย่อยจำนวนมาก ซึ่งไม่ได้แปลเป็นไทยทั้งหมด จึงไม่ทราบรายละเอียดทั้งเรื่อง เช่นเดียวกับมหาภารตะ

เริ่มต้น ลงท้ายคล้ายกัน ตรงที่ ทุกคนเป็น”คนกันเอง”ทั้งนั้น แต่ต้องมาฆ่ากันเพราะเทพสาปไว้ พอตายไปก็ไปเสวยสุขร่วมกัน เรียบร้อยโรงเรียนแขก

เรื่องเสริมย่อยนี้ซึ่งน่าจะเกิดยุคฮินดูแล้ว เพราะเป็นการผสานความสามัคคี เพราะเหนือใต้ อินเดียไม่ลงรอยกันนัก

ใส่ความเห็น